การใช้ EM แบบน้ำ/แบบแห้ง


   การใช้ EM แบบแห้ง

        การใช้ EM แบบแห้งหมายถึงการนำอินทรียวัตถุที่ามารถย่อยสลายได้ ที่แห้งและละเอียดมาหมักด้วย EM แล้ววนำไปหมักระยะเวลาที่เหมาะสมก็จะสามารถนำมาใช้เป็นปุ๋ย ในลักษณะเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ คือมีพลังทั้งอินทรีย์และจุลินทรีย์ในปุ๋ยหมัก มีชื่อเฉพาะว่าโบกาฉิ ซึ่งมีความหมายว่า 

"การหมักอินทรียวัตถุด้วย EM" อินทรียวัตถุที่นำมาหมักดังนี้ คือ

        1. ประเภทมูลสัตวืแห้ง เช่น มูลไก่ สุกร โค กระบือ ค้างคาว ช้าง ม้า ฯลฯ

        2. ประเภทวัชพืชป่น  เช่น กิ่งไม้ ใบไม้ หญ้า ฟาง (ป่น) ฯลฯ

        3. ประเภทเศษเหลือจากโรงงาน  เช่น เปลือกมัน กากปาล์ม กากอ้อย ฯลฯ

        4. ประเภทเศษจากแปลงเกษตร เช่น กากถั่ว เปลือกถั่ว ต้นข้าวโพด ใบอ้อย ฯลฯ

        5. ประเภทขยะแห้งที่ย่อยสลายได้ทั้งกระดาษ ใบตอง เศษไม้ ฯลฯ

    การหมักแห้งทุกอย่าง ต้องแห้งและป่นละเอียดพอสมควร เพื่อสะดวกต่อ การผสมให้มีความชื้นทั่วถึง จึงจะสามารถทำให้มี EM ณ จุดนั้นๆ ก็จะได้ผลดี

    ประเทศไทยมีอินทรียวัตถุจำนวนมาก สามารถจะนำมาหมักเป็นปุ๋ยได้จำนวนมหาศาล ไม่จำเป็นต้องหาซื้อป๋ยเคมีจากต่างประเทศ เราเผาทิ้งกันทุกวัน นำมาหมักด้วย EM ก็จะได้ปุ๋ยที่มีคุณภาพ

    อีกส่วนที่ไม่ได้กล่าวไว้ ในเรื่องการใช้ EM แบบน้ำ เช่น น้ำเสียจากโรงงาน เช่น โรงงานปาล์ม โรงงานผลิตอาหาร โรงฆ่าสัตว์ ใส่ EM ให้หายเหม็นแล้ว ก็สามารถนำไปเป็นปุ๋ยได้

    ปุ๋ยแบบแห้ง สามารถทำได้หลายรูปแบบ ขอยกตัวอย่างบางส่วน เพื่อเป็นแนวทางในการนำไปประยุกต์ใช้กับอินทรียวัตถุต่างๆ ที่มีคือ 

    1. EM โบกาฉิมูลสัตว์

    2. ซุปเปอร์โบกาฉิ

    3. EM โบกาฉิ 24 ชั่วโมง 

 

 

 

 

        

       

Visitors: 85,733